3 мая 2022 г.
ดอลลาร์-บอนด์ยังพุ่งกดดันทองคำไม่หยุด ตลาดทองคำนิวยอร์กยังปรับตัวลดลงในวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยตลาดยังคงถูกแรงกดดันจาการแข็งค่าของดอลลาร์และบอดน์ยีลด์ โดยหลักๆ แรงกดดันยังคงมาจากการที่นักลงทุนมีคงกังวลเกี่ยวกับเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.5% ในการประชุมระหว่างวันที่ 3-4 พ.ค.นี้ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 3% ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะขยับกลับมาสู่ระดับ 2.99% ฝั่งของดัชนีดอลลาร์ก็ปรับพุ่งขึ้น 0.76% แตะระดับ 103.74 เมื่อคืนนี้เช่นกัน สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย ปรับลดลง 48.1 ดอลลาร์ หรือ -2.52% ปิดที่ 1,863.6 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM จากที่ได้ประเมินไปก่อนหน้านั้น ทองคำหากพิจารณาในกรอบรายวันเรายังคงเห็นเป้าหมายราคากำลังลงไปทดสอบที่ระดับ 1842 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งก็เป็นแนวเส้น SMA200 วันเคลื่อนไหวในแนวดังกล่าว หากราคาทองคำทดสอบแนวดังกล่าวแล้วทรงตัวได้ เราอาจเห็นการฟื้นตัวของทองคำได้จากบริเวณดังกล่าว จึงแนะนำให้นักลงทุนเฝ้าติดตาม ในทางปัจจัยกดดันอื่นๆ นั้นก็คงจะหลีกไม่พ้นเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่มีขึ้นในวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2565 นี้ คาดว่าเฟดจะปรับมากถึง 0.5% ตรงนี้จะเป็นผลกดดันทองคำให้ร่วงลงได้่เช่นกัน แต่เนื่องจากระดับ 1842 จะเป็นแนวที่นักลงทุนอาจเฝ้าติดตามและรอเข้าซื้อเพื่อทำกำไรช่วงสั้นๆ ก็อาจส่งผลให้ทองคำอาจไม่ร่วงลงไปมากนัก แต่หาก 1842 ไม่สามารถรองรับแรงได้นั้น โอกาสที่ทองคำจะปรับตัวลงไปต่ำกว่า 1800 ดอลลาร์ก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน ประเมินแนวรับกรอบรายวันถัดไปที่ระดับ 1780 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับสายลงทุนรายชั่วโมง (เล่นสั้น H1-H4) เฝ้าติดตามระดับ 1854 ดอลลาร์ต่อออนซ์ว่าสามารถรองรับการทดสอบราคาได้หรือไม่ หากราคาสามารถรองรับได้ในแนวดังกล่าวเราจะเห็นการเคลื่อนไหวปรับตัวขึ้นระยะสั้นได้ โดยเป้าหมายปรับขึ้นประเมินแนว 1870-1879 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่ผ่านแนวนี้ก็มีโอกาสที่จะปรับร่วงต่อได้เช่นกัน สำหรับกรณีที่ 1854 ไม่สามารถรองรับราคาได้ เราประเมินว่าทองคำอาจลงไปได้ระยะแรกที่ 1830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และ 1804 ดอลลาร์ต่อออนซ์ตามลำดับ =================================กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง ================================= Long Position : หากราคาทองคำสามารถเคลื่อนไหวในระดับ 1854-1839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น เราอาจเสี่ยงเปิด “ซื้อ” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรหากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1870-1879 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับต่ำกว่า 1854-1839 ดอลลาร์ต่อออนซ์) Short Position : รอขายทองคำบริเวณ 1870-1879 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแน้วต้านดังกล่าวขึ้นไปได้ เน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรที่แนวรับบริเวณ 1854-1839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 1879 ดอลลาร์ต่อออนซ์)แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง) ------------------------------------------- Resistance :1891 / 1925 / 1960 ------------------------------------------- Support : 1842 / 1813 / 1780 -------------------------------------------แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น) ------------------------------------------- Resistance : 1870 / 1879 / 1895 ------------------------------------------- Support : 1854 / 1839 / 1830 -------------------------------------------แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้ Time Frame H1 = Down trend Time Frame H4 = Down trend Time Frame Day = Up trend Time Frame Week = Up trend Time Frame Month = Up trend -------------------------------------------------กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (เมษายน) ------------------------------------------------- สถานะการถือครองทองคำ = ล่าสุดลดลง -2.32 คงถือสุทธิ = 1,092.23 ตัน ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,862.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับการถือครองครั้งที่ = 1 รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -2.32 ตัน ------------------------------------------------- *การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง **ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง ***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต